เพลงไทยเดิมของเรานี้นับว่าเป้นมรดกอันล้ำค่าของเราชาวไทยชิ้นหนึ่งที่พวกเราต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อสืบทอดให้กับคนรุ่นต่อๆไปได้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรื่องทางดนตรีของเราซึ่งมีช้านาน
การอ่านโน้ตเพลงไทย มีวิธีการอ่านเหมือนกับการอ่านหนังสือทั่วๆไป คือ อ่านจากด้านซ้ายไปขวา โน้ต 1 บรรทัดจะแบ่งเป็นช่องๆ รวม 8 ช่อง ดังนี้
_ _ _ ด | _ _ _ ร | _ _ _ ม | _ _ _ ฟ | _ _ _ ซ | _ _ _ ล | _ _ _ ท | _ _ _ ดํ |
ช่องแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ
วิธีนับให้นับจังหวะตกที่โน้ตตัวสุดท้ายซึ่งอยู่หน้าเส้นกั้นห้องจากรูป ให้เคาะจังหวะตกที่ตัว โด,เร,มี,ฟา,ซอล,ลา,ที,โด(สูง) รวมต้องเคาะจังหวะ 8 ครั้ง หรือ 8 จังหวะ ทีนี้ลองเคาะจังหวะให้สม่ำสเมอพร้อมกับออกเสียงไปด้วย แล้วลองฝึกเป่าเสียงตามโน้ตอีกที
เครื่องหมาย _ _ ใช้เพื่อเป็นตัวเพิ่มเสียงของโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้าเครื่องหมายให้มีเสียงยาวขึ้น การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้เสียงโน้ตตัวใดตัวหนึ่งยาวเท่าไรนั้นก็ขึ้นอยู่เครื่องหมาย _ _ ที่อยู่ข้างหลังตัวโน้ตนั้นๆ เป็นตัวบังคับความสั้นยาวของเสียง
เครื่องหมาย _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1/4 จังหวะ
เครื่องหมาย _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1/2 จังหวะ
เครื่องหมาย _ _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 3/4 จังหวะ
เครื่องหมาย _ _ _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1 จังหวะ |
หรือเครื่องหมาย _ หนึ่งขีดมีค่าเท่ากับโน้ตหนึ่งตัวเช่นตัวอย่าง
_ _ _ ฟ | _ _ _ ซ | _ ล _ ท | _ ล _ ซ |
อธิบายวิธีเป่า เครื่องหมายขีดสามขีดหน้าตัว ฟา เราไม่ต้องเป่า เพราะหน้าเครื่องหมายไม่มีตัวโน้ต ให้เป่าเสียงฟาเลย พร้อมเคาะจังหวะไปด้วยเป่าไปถึง ซอล นับเป็นหนึ่งจังหวะ และจากเสียง ซอล ถึง ลา นับ 1/2 จังหวะ และจาก ลา ไปถึง ที นับ 1/2 จังหวะ และจากเสียง ที ถึง ลา นับ 1/2 จังหวะ และจาก ลา ไปถึง ซอล นับ 1/2 จังหวะ
โน้ตขลุ่ยและเครื่องหมายต่างๆ
ด ใช้แทนเสียง โด ปกติ
ร ใช้แทนเสียง เร ปกติ
ม ใช้แทนเสียง มี ปกติ
ฟ ใช้แทนเสียง ฟา ปกติ
ซ ใช้แทนเสียง ซอล ปกติ
ล ใช้แทนเสียง ลา ปกติ
ท ใช้แทนเสียง ที ปกติ | ดํ ใช้แทนเสียง โด สูง
รํ ใช้แทนเสียง เร สูง
มํ ใช้แทนเสียง มี สูง
ฟํ ใช้แทนเสียง ฟา สูง
ซํ ใช้แทนเสียง ซอล สูง |